Current Surgical Roles in Necrotizing Enterocolitis
Abstract
Necrotizing enterocolitis (NEC) has an incidence around 1-3 per 1,000 live birth in low birth weight infants. The condition is a major cause of death and longterm morbidity in premature infants. Main risk factors of NEC consist of prematurity and perinatal instability of hemodynamics that leads to ischemia-reperfusion associated inflammation, bacterial translocation and systemic septicemia. In a majority of cases, treatment can be achieved by non-operative management including bowel rest, antibiotics and hemodynamic support. Surgery has its role in NEC that is not responded to such conservative management. Currently, there are 2 standard procedures, primary laparotomy and primary peritoneal drainage. Randomized trials demonstrated no difference in surgical outcome between the two principles. In cases that laparotomy is chosen, removal of pathologic bowel and creation of enterostomy is performed in most cases. However, there is no superior surgical choice in those with pan-intestinal NEC. Breast feeding, standard feeding regimen and probiotics are likely to reduce the incidence of NEC.
บทบาทปัจจุบันทางศัลยศาสตร์ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบเน่าตายในทารกแรกเกิด
อนุวัตร พลานุสนธิ์
สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา*
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โรคลำไส้อักเสบเน่าตายในทารกแรกเกิดมีอุบัติการณ์ราว 1-3 รายในทุก 1,000 ราย ของทารกเกิดมีชีพ น้ำหนักตัวน้อย โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและทุพพลภาพที่สำคัญของทารกคลอดก่อนกำหนด ปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญของภาวะนี้ประกอบด้วย การคลอดก่อนกำหนดและความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิตในระยะ ปริกำเนิด โดยมีภาวะ ischemia-reperfusion เป็นพยาธิสภาพร่วมอันนำไปสู่การอักเสบของผนังลำไส้การรุกล้ำของแบคทีเรีย ไปจนกระทั่งการติดเชื้อตามระบบต่างๆ การรักษาภาวะลำไส้อักเสบเน่าตายโดยส่วนใหญ่ประสบ ความสำเร็จโดยการพักลำไส้ให้ยาปฏิชีวนะและประคองระบบไหลเวียน การผ่าตัดมีบทบาทเมื่อแนวทางการรักษา ดังกล่าวล้มเหลว ในปัจจุบันมี 2 วิธีได้แก่ การผ่าตัดเปิดช่องท้อง และอีกแบบคือการใส่ท่อระบายช่องท้อง โดยการศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาในลักษณะแบ่งกลุ่มผู้ป่วยไม่พบความแตกต่างในผลการรักษาด้วย สองวิธีดังกล่าว ในรายซึ่งรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดช่องท้อง การตัดส่วนของลำไส้ซึ่งมีพยาธิสภาพออก และ ยกทวารเทียมเป็นการผ่าตัดในผู้ป่วยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดในผู้ป่วยซึ่งลำไส้เน่าตายอย่างกว้างขวาง และมีความเสี่ยงต่อภาวะลำไส้สั้นยังไม่มีข้อยุติ ในเชิงการป้องกัน การให้นมมารดาและใช้แนวทางการให้นม มาตรฐาน ตลอดจนการใช้probiotics อาจช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.