Comparing Score between Non-Expert and Expert Provide Formative Assessment during Objective Structured Clinical Examinations in Rectal Irrigation
Abstract
Objective: To compare scoring results in an Objective Structured Clinical Examination (OSCE), rectal irrigation of an infant, between those scored by a content expert and a non-expert examiner.
Material and Method: An OSCE in rectal irrigation practice had been conducted for 5-year medical students in the pre- and post-operative care subject. Practical skills of the examinees were directly observed and scored on a checklist basis by an educational officer who was not a content expert in the surgical field. The scoring was independently performed on a video-recorded basis by a surgical staff. Scoring results were compared using paired t-test and the p-value of less than 0.05 was regarded as having statistical significance.
Results: Sixty-three medical students (27 males and 36 females) participated in the examination. On comparison, scoring by non-expert and content expert gave no significant different in the majority of items, except for 2 skills: 1) procedure explanation to parents 2) choosing the right size of rectal tube, in which the content expert gave significantly higher score.
Conclusion: Scoring an OSCE by a non-expert gave almost the same outcome when compared to those performed through the video-record by a surgical staff member.
เปรียบเทียบผลให้คะแนนจากนักวิชาการศึกษาและอาจารย์ในการประเมินการสอบภาคปฏิบัติการสวนล้างทวาร
กลอยใจ คำคง1*
ปิยะพร คงนวล1
ปิยวรรณ เชียงไกรเวช1
ณิชาภา อินทรพันธ์1
ศรีลา สำเภา1
ประภัสสร ชุมนุม2
1ภาควิชาศัลยศาสตร์ 2งานเวชนิทัศน์และการจัดประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลให้คะแนนจากนักวิชาการศึกษาและอาจารย์ในการประเมินการสอบภาคปฏิบัติ การสวนล้างทวาร
วัสดุและวิธีการ: ศึกษานักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 รายวิชาการดูแลผู้ป่วยก่อน-หลังการผ่าตัด รวบรวมข้อมูล การประเมินให้คะแนนด้วย checklist ในการสอบภาคปฏิบัติการสวนล้างทวาร โดยนักวิชาการศึกษาประเมินจากการ สังเกตโดยตรง ส่วนอาจารย์ประเมินจากการบันทึกภาพเคลื่อนไหววิดีโอ (VDO) เปรียบเทียบคะแนนจาก นักวิชาการศึกษาและอาจารย์ในการประเมินการสอบภาคปฏิบัติการสวนล้างทวาร โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบคะแนน ของอีกฝ่าย การวิเคราะห์ทางสถิติโดยพิจารณา p<0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: นักศึกษาแพทย์ 63 คน เป็นเพศชาย 27 คน (ร้อยละ 42.8) และเพศหญิง 36 คน (ร้อยละ 57.1) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามช่วงเวลาการเรียน มีนักศึกษาแต่ละกลุ่มจำนวน 15 คน (ร้อยละ 23.8) 16 คน (ร้อยละ 25.4) 16 คน (ร้อยละ 25.4) และ 16 คน (ร้อยละ 25.4) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบผลให้คะแนนจากนักวิชาการศึกษาและอาจารย์ในการประเมิน การสอบภาคปฏิบัติการสวนล้างทวาร พบว่าการให้คะแนนส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นประเมินการอธิบาย ขั้นตอนและวิธีการรักษาให้ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองทราบและขั้นตอนการเลือกใช้ rectal tube ซึ่งอาจารย์ให้คะแนนสูงกว่า อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ
สรุป: การสอบภาคปฏิบัติโดยอาศัยการให้คะแนนในแบบประเมินโดยนักวิชาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง สามารถให้คะแนน ในแบบประเมินได้ถูกต้องเช่นเดียวกับอาจารย์ซึ่งประเมินผ่านทางภาพเคลื่อนไหว
Keywords
Full Text:
full text in ThaiRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.