Assessment of Knowledge and Practice of Patients Before and After Counseling in the Use of the Reusable Insulin Pen at Vachiraphuket Hospital.
Abstract
Objective: The primary objectives of this study were to compare patients knowledge and practice of insulin injection technique before and after pharmacist counseling. The secondary objectives were to evaluate type and number of drug-related problems (DRPs) in patients using a reusable insulin pen at Vachiraphuket Hospital.
Material and Method: The study had a quasi-experimental, pretest-posttest design, with convenience sampling at Vachiraphuket Hospital during March to June 2014. The study instrument was a closed-ended form questionnaire, divided into 3 parts as follows, part 1: demographic data, part 2: knowledge about insulin on a scale 0 to 1, and part 3: practices in using the reusable insulin pen on a scale 0 to 1.
Results: Eighty-six eligible patients with diabetes mellitus visiting Vachiraphuket Hospital were enrolled. Patients were female (64.0%) and aged 61-70 years (34.9%). After counseling by a pharmacist, that was an increase in both the mean score of knowledge (6.5±2.5 vs 8.2±0.8, p<0.001) and mean score of practices (16.2±2.4 vs 19.4±0.6, p<0.001). Patients lacked knowledge about washing hands before injection (0.244±0.432), keeping unused insulin cartridge in the refrigerator (0.349±0.479) and the need to disposed the used needle in a sharp bin (0.558±0.499). Patients did not practice resetting the pin to zero if the wrong dose had been set (0.453±0.500), wiping the front rubber stopper with an alcohol swab (0.523±0.502) and turning the dial-a-dose selector to 2 units (0.546±0.501). All knowledge and practices were significantly improved after pharmacist counseling (p<0.001). The most frequently found DRPs were adverse drug reactions (ADRs) 19 events (57.5%), hypoglycemia 11 events and lipohypertrophy 8 events.
การประเมินความรู้ และทักษะของผู้ป่ว่ยก่อน-หลังได้รับคำปรึกษาวิธีใช้ปากกาฉีดยาอินซูลิน ณ โรงพยาบาลศูนย์ วชิระภูเก็ต
อภิชาติ จิตต์ซื่อ 1*
พนารัตน์ แสงแจ่ม 2
เจริญ ตรีศักดิ์ 2
ทิติยา หาญเลิศฤทธิ์ 2
1 กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000
2 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบความรู้ และทักษะการฉีดยาอินซูลินก่อน-หลัง ให้คำปรึกษา วัตถุประสงค์รอง ศึกษาชนิดและจำนวนปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ปากกาฉีดยาเบาหวาน ที่โรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต
วัสดุและวิธีการ: การศึกษากึ่งทดลอง วัดผลก่อน-หลังได้รับคำปรึกษา ใช้วิธีสุ่มตามสะดวก ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่โรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามชนิดแบบตรวจสอบรายการ ปลายปิด แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบประเมินความรู้ในการฉีดยา แบบประเมินทักษะการใช้ยา ฉีดอินซูลิน และแบบบันทึกข้อมูลปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมศึกษาจำนวน 86 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.0) มีอายุระหว่าง 61-70 ปี (ร้อยละ 34.9) เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังให้คำ ปรึกษา ผู้ป่วยมีคะแนนรวมเฉลี่ยด้านความรู้ (6.5±2.5 vs 8.2±0.8, p<0.001) และด้านทักษะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (16.2±2.4 vs 19.4±0.6, p<0.001) หัวข้อความรู้ที่คะแนนเฉลี่ย น้อยคือ ล้างมือให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้งก่อนฉีดอินซูลิน (0.244±0.432) รองลงมา ได้แก่ เก็บหลอดอินซูลินที่ยัง ไม่ได้เปิดใช้ (0.349±0.479) และการทิ้งเข็มอย่างปลอดภัยในภาชนะที่ใช้ในการทิ้งเข็มอินซูลิน (0.558±0.499) หัวข้อ ทักษะที่คะแนนเฉลี่ยน้อยคือ การแก้ไขได้เมื่อปรับขนาดยาผิด (0.453±0.500) ทำ ความสะอาดจุกยางของหลอดอินซูลิน ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ (0.523±0.502) และขั้นตอนการตรวจความพร้อมใช้งานของปากกาฉีดอินซูลินโดยการหมุน ปรับวงแหวนไปที่ 2 ยูนิต (0.546±0.501) และหลังจากให้คำ ปรึกษามีร้อยละผู้ที่ตอบถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในทุกหัวข้อ (p<0.001) พบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา ส่วนใหญ่เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 19 เหตุการณ์ (ร้อยละ 57.5) เป็นภาวะน้ำ ตาลในเลือดต่ำ 11 เหตุการณ์ และเกิดเนื้อไตแข็งบริเวณที่ฉีด 8 เหตุการณ์
สรุป: ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าความรู้ และทักษะเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ปากกาฉีดยาอินซูลิน และการให้คำปรึกษาโดย เภสัชกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของยา และลดอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยที่ใช้ปากกาฉีดอินซูลิน
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.