Bioaerosols Assessment in the Intensive Care Units of a Tertiary Care Hospital.
Abstract
Objective: This cross-sectional study describes the characteristics and size distributions of bioaerosols in the Medical Intensive Care Unit (MICU) and Surgical Intensive Care Unit (SICU) of Songklanagarind Hospital. The relationship of the investigated factors on indoor bioaerosol concentration was clarified.
Material and Method: A six-stage viable cascade impactor was used to assess the concentrations and size distributions of bioaerosols in the ICUs from June 2011 to February 2012. The predominant bioaerosols were further analyzed by the polymerase chain reaction (PCR) technique. The meteorology factors were simultaneously measured with the viable microbes.
Results: The total indoor bacteria and fungi concentrations at the MICU were 214.22±93.27 and 194.25±74.83 cfu/m3 while at the SICU during on-ultraviolet germicidal irradiation (UVGI) system they were 274.44±140.75 and 234.39±115.60 cfu/m3 and during the off-UVGI they were 515.12±246.75 and 531.41±337.65 cfu/m3 , respectively. Since air passed through the MICU at a velocity of less than 1 m/s from a nearby construction site, accumulations of outdoor bacteria and fungi such as A. fumigatus and A. flavus were sampled at the site. The predominant bacteria and fungi in ICUs were Staphylococcus spp., Micrococcus spp., Bacillus spp., Pseudomonas spp. and Cladosporium spp., Penicillium spp., Aspergillus spp., and Fusarium spp., respectively. The functioning of the UVGI and the room air velocity depended significantly on the indoor bacteria concentration in the SICU while the indoor fungi concentration depended significantly on the outdoor fungi concentration, room air velocity, indoor relative humidity and indoor temperature.
Conclusion: To decrease the indoor bioaerosol concentrations, the room air velocity should be increased and the UVGI system should be installed in the limited space of the ICUs.
ปวิตร ชัยวิสิทธิ์1
ธันวดี เตชะภัททวรกุล สุขสาโรจน์2
ดำรงศักดิ์ ร่มเย็น3
ฐิติวร ชูสง4*
1 คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
2 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
3 งานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 4 หน่วยวิจัยการจัดการสุขภาพและความปลอดภัยแบบองค์รวมในชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
วัตถุประสงค์: การศึกษาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพรรณนาความเข้มข้นและขนาดของจุลชีพในหออภิบาล ผู้ป่วยหนักอายุรกรรม (MICU) และศัลยกรรม (SICU) ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจุลชีพในอาคาร
วัสดุและวิธีการ: ขนาดและความเข้มข้นของจุลชีพในอากาศหออภิบาลผู้ป่วยหนักตรวจวัดด้วยเครื่องเก็บตัวอย่าง จุลชีพในอากาศชนิด 6 ชั้น ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 จากนั้นนำตัวอย่างที่ได้ วิเคราะห์หา ชนิดของจุลชีพเด่น ด้วยวิธี PCR ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมดำ เนินการตรวจวัดควบคู่ไปกับการเก็บตัวอย่างจุลชีพโดยใช้ เครื่องมือชนิดอ่านค่าโดยตรง
ผลการศึกษา: ปริมาณแบคทีเรียและราทั้งหมดภายใน MICU มีค่า 214.22±93.27 และ 194.25±74.83 cfu/m3 ในขณะที่ SICU ระหว่างเปิดระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงอัลตราไวโอเลต (UVGI) มีค่า 274.44±140.75 และ 234.39±115.60 cfu/m3 และปิดระบบ UVGI มีค่า 515.12±246.75 และ 531.41±337.65 cfu/m3 ตามลำดับ ความเร็วลมภายนอกอาคารน้อยกว่า 1 เมตรต่อวินาที พัดผ่านอาคารก่อสร้าง ส่งผลให้มีการสะสมของปริมาณจุลชีพ เช่น A. fumigatus และ A. flavus บริเวณใกล้เคียงอาคารก่อสร้าง โดยชนิดของแบคทีเรียเด่น คือ Staphylococcus spp., Micrococcus spp., Bacillus spp., Pseudomonas spp. ในขณะที่ราเด่นคือ Cladosporium spp., Penicillium spp., Aspergillus spp., และ Fusarium spp. การใช้ระบบ UVGI และความเร็วลมภายใน SICU มีผลกับปริมาณแบคทีเรียภายใน SICU ในขณะที่ ปริมาณราภายใน SICU ขึ้นอยู่กับปริมาณราภายนอกอาคาร ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิภายใน SICU อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ แต่ไม่พบปัจจัยใดๆที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณจุลชีพภายใน MICU
สรุป : เพื่อลดปริมาณจุลชีพในอาคาร ควรเพิ่มความเร็วลมภายในอาคาร และติดตั้งระบบ UVGI ใน ICU ที่มีพื้นจำกัด
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.