PBL from the Facilitators’ Perspectives.
Abstract
Objective: This study aimed to determine the perception of facilitators in problem-based learning in the pre-clinical years at Faculty of Medicine, Prince of Songkla University in the year of 2013.
Material and Method: The sample comprised of faciltitators from Faculty of Science and Faculty of Medicine who had over 5 years of PBL’s experiences. About 16 facilitators from preclinical and clinical departments participated in this study. The stratified sampling and simple random sampling methods were used to select the samples. A focus group was conducted as a data collection strategy. The obtained data was transcribed verbatim and analyzed by using a qualitative content analysis approach.
Results: Facilitators perceived PBL as an active learning method for medical students. It also showed positive intention of facilitators to continue PBL program as it is a distinctive feature of the Faculty’s innovative learning method. While difficulties of PBL concerning facilitators tended to comprise of variation of facilitators’ performance in small group activities and deep understanding of PBL philosophy which may lead to lack of the essence of PBL learning process and the success of the program.
Conclusion: The study suggested that continuous training facilitator’s skill, standardization of facilitator’s roles and making understanding about PBL learning process seemed to be necessary and closely related factors for effectiveness of the program.
ทัศนะของอาจารย์ประจำกลุ่มในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
จุฬาลักษณ์ เรืองณรงค์*
อัษฎาพร แกล้วทนงค์
งานแพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำ รวจความคิดเห็นของอาจารย์ประจำ กลุ่มที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐานระดับปรีคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2556
วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาจารย์ประจำ กลุ่มสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ประจำกลุ่ม สังกัดคณะแพทยศาสตร์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified sampling) และสุ่มแบบง่ายจากผู้ที่มีประสบการณ์สูงกว่า 5 ปี จำนวน 16 คน ประกอบด้วย อาจารย์ระดับปรีคลินิกและระดับคลินิก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพครั้งนี้ ใช้การสนทนากลุ่มย่อย (focus group) ข้อมูลที่รวบรวมได้เขียนสรุปเป็นข้อความและใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)
ผลการศึกษา: อาจารย์ประจำกลุ่มมีความเห็นว่าการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning; PBL) เป็นวิธีการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) ที่เหมาะกับการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ อาจารย์ประจำกลุ่ม มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ PBL และเห็นว่าเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่คณะแพทยศาสตร์ควรพัฒนา อย่างต่อเนื่องต่อไป โดยเน้นว่าเป็นลักษณะเด่นของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่วนอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้แบบ PBL นั้น พบว่าบทบาทอาจารย์ประจำ กลุ่มยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำ ให้กระบวนการกลุ่มมีความแตกต่างกัน และยังขาดความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับปรัชญาของการเรียนการสอน แบบ PBL อันจะส่งผลต่อความสำ เร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL
สรุป : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ควรจัดฝึกอบรมอาจารย์ประจำ กลุ่มอย่างสม่ำ เสมอและต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพอาจารย์ประจำ กลุ่มให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสร้างความเข้าใจในสาระของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำ คัญในการพัฒนาการเรียนรู้แบบ PBL ให้ประสิทธิภาพต่อไป
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.